วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 12


วันศุกร์ ที่ 17 เดือนเมษายน พ.. 2563


( 12.30 - 15.30 )

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเอง


    ลักษณะการเคลื่อนไหว
                     1. ช้า ได้แก่  การคืบ คลาน                                    
                                2. เร็ว ได้แก่  การวิ่ง                                                       3. นุ่มนวล  ได้แก่  การไหว้  การบิน                                                                                        4. ขึงขัง   ได้แก่  การกระทืบเท้าดังๆ  ตีกลองดังๆ

                      5. ร่าเริงมีความสุข  ได้แก่  การตบมือ  การหัวเราะ        
                      6. เศร้าโศกเสียใจ  ได้แก่  สีหน้า  ท่าทาง 

      ทิศทาง
1. เคลื่อนไหวไปข้างหน้า  และข้างหลัง                            
2. เคลื่อนไหวไปข้างซ้าย และข้างขวา
3. เคลื่อนตัวขึ้นลง                                                                                4. เคลื่อนไหวรอบทิศ

รูปแบบการเคลื่อนไหว
1. เคลื่อนไหวพื้นฐานได้แก่ การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเด็กมี 2 ประเภท
1.1   เคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ  ขยิบตา ชันเขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า
1.2   การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  ได้แก่  คลาน คืบ เดิน วิ่ง  กระโดด ควบม้า
ก้าวกระโดด
2. การเลียนแบบมี 4 ประเภท
    2.1 เลียบแบบท่าทางสัตว์
    2.2 เลียบแบบท่าทางคน
ดดี    2.4 เลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติ
 3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางประกอบเพลง เช่น เพลง ข.ไข่ หรือเพลงตามสมัยนิยม 
 4. การทำท่าทางกายบริหารประกอบเพลง ได้แก่  การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและประกอบเพลง หรือคำคล้องจ้อง
 5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ ท่าทางขึ้นเองอาจชี้นำโดยการป้อนคำถามเคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ห่วงยาง แถบผ้า บัตรคำ ริบบิ้น 
 6. การเล่นหรือการทำท่าทางตามคำบรรยาย เรื่องราว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ผู้สอน เล่า
 7. การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม
 8. การฝึกท่าทางเป็นผู้นำ ผู้ตามได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเองแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตามกิจกรรม

🔺อาจารย์มอบหมายงาน 2 งาน โดยการอัดคลิปวิดีโอ เคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์

กิจกรรมที่ 1 ท่าโยคะ (ท่าดอกบัว)





กิจกรรมที่ 2 เต้นประกอบเพลง (ออกแบบท่าด้วยความคิดสร้างสรรค์)




กิจกรรมที่ 3 เต้นประกอบเพลง (ออกแบบท่าด้วยความคิดสร้างสรรค์)ฉบับแก้ไข


ประเมินตนเอง :
ประเมินเพื่อน :
ประเมินอาจารย์ :







บันทึกครั้งที่ 11

วันศุกร์ ที่ 10 เดือนเมษายน พ.. 2563
( 12.30 - 15.30 )


🔺อาจารย์สั่งงานโดยให้นักศึกษา เตรียมกระดาษ 2 แผ่น พร้อมปากกา

กิจกรรมที่ 1
ให้นักศึกษา เขียนหมายเลข 1-9 ลงบนกระดาษ พร้อมกับสร้างสรรค์ตัวเลขให้เป็นรูปภาพ



กิจกรรมที่ 2
ให้นักศึกษานำกระดาษ วาดรูปสามเหลี่ยมให้เต็มพื้นที่หลายๆอัน เสร็จแล้วตัดตามเส้นที่ขีดไว้จากนั้นนำมาประกอบภาพ



หลังจากนั้นอาจารย์สอบถามใครร้องเพลง 1ปีมี 12เดือนเป็นบ้าง
ดิฉันเปิดไมค์และร้องได้ถูกต้อง

ประเมินตนเอง   :มีความร่วมมือในการทำงาน และตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน     :เพื่อนบางคนตั้งใจเรียนและตอบคำถามบางส่วนอาจปิดกล้องไม่ให้ความร่วมมือ
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์มีกิจกรรมที่น่าสนใจในการสอนแต่ละครั้ง


วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563




บันทึกครั้งที่ 10

วันศุกร์ ที่ 3 เดือนเมษายน พ.. 2563
( 12.30 - 15.30 )

🔺อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับคู่ ค้นหากิจกรรมวิทยศาสตร์ 
พร้อมวิเคราะห์กิจกรรมที่หามานั้นว่าประเมินอย่างไร





ประเมินตัวเอง :ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทำงานส่งครบตามกำหนด
ประเมินอาจารย์ : มีความละเอียดในการตรวจงาน



บันทึกครั้งที่ 9


วันศุกร์ ที่ 27 เดือนมีนาคม พ.. 2563

      ( 12.30 - 15.30 )

สร้างสรรค์กับวิทยาศาสตร์




ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับความคิดสร้างสรรค์
1.ทักษะการสังเกต
     1.1 ฝึกการสังเกตโดยใช้ประสาททั้ง 5 จนเด็กค้นพบคำตอบ
     1.2 การสังเกตบางครั้งต้องใช้ระยะเวลาต่อเนื่องกัน
     1.3 ส่งเสริมให้เด็กนำข้อมูลต่างๆ มาช่วยในการตัดสินใจ
     1.4 จากการสังเกตสิ่งของหรือเหตุการณ์บางครั้งต้องมีอุปกรณ์เข้าช่วย
     1.5 กระตุ้นเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจริเริ่มที่จะสังเกตสิ่งต่างๆ
2.ทักษะการจำแนกประเภท
     2.1เพื่อส่งเสริมให้เด็กริเริมว่างแผน
     2.2เพื่อส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้วิธีจำแนกประเภทด้วยวิธีต่างๆ
     2.3เพื่อให้เด็กเสนอความคิดในการจำแนก
     2.4เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.ทักษะการสื่อความหมาย
     3.1เพื่อให้เด็กฝึกใช้ทักษะการส่งความหมายด้วยวิธีต่างๆ
     3.2เพื่อให้เด็กฝึกทักษะการตั้งคำถามปลายเปิด
4.ทักษะการปริมาณ
     4.1เพื่อให็เด็กมีทักษะ สังเกต แยกประเภท อธิบาย
     4.2เพื่อให้เด็กมีความรูความเข้าใจ
     4.3เพื่อให้เด็กรู้พื้นฐานทักษะคณิตศาสตร์
5.ทักษะการทดลอง
     5.1เพื่อให้เด็กเรียนรู้และลงมือด้วยตนเอง
     5.2เพื่อให้เด็กเรียนรู้กระบวนการทดลองด้วยตนเอง
     5.3เพื่อเกิดการคิดว่าทำแล้วจะเกิดอะไร
     5.4เพื่อให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มวางแผน


ประเมินตัวเอง :วันนี้ค่อนข้างเข้าใจช้าเนื่องจากมีอาการปวดหัวแต่ตั้งใจฟังและทำงาน
ประเมินเพื่อน :มีส่วนร่วมในการตอบโต้แตต่บางส่วอาจเกิดข้อผิดพลาดทางอินเตอร์เน็ต
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์อธิบายดีได้ละเอียด 






บันทึกครั้งที่ 8


วันศุกร์ ที่ 20 เดือนมีนาคม พ.. 2563

( 12.30 - 15.30 )

🔽เรียนออนไลน์🔼

อาจารย์มอบหมายงานผ่านแอพZOOM ดังนี้















ประเมินตัวเอง :ครั้งแรกการเรียนออนไลน์ ยังคงใช้แอพไม่ค่อยเป็นยังเข้าถึงตัวแอพยาก
ประเมินเพื่อน :มีความช่วยเหลือพยายามหาทางแก้ไขการเข้าแอพ
ประเมินอาจารย์ :อาจจะยากที่จะเรียนเพราะครั้งแรกที่อาจารย์สอนครั้งแรก





บันทึกครั้งที่ 7

วันจันทร์ ที่ 16 เดือนมีนาคม พ.. 2563
( 12.30 - 15.30 )



งดคลาส 
เนื่องจากเกิดโรคระบาด ที่มีชื่อว่า โควิด 19
หยุดอยู่บ้านเพื่อลดการระบาดของไวรัส






บันทึกครั้งที่ 6

วันจันทร์ ที่ 9 เดือนมีนาคม พ.. 2563
( 12.30 - 15.30 )



องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์

1. ความคิดริเริ่ม (Originality) มายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม
 2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นที

3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
               3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน

4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น




         EF (Executive Functions) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนการปฏิบัติ (goal-directed behavior) การจดจำ ความยืดหยุ่นทางปัญญา (cognitive flexibility) เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดตนเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน
        กระบวนการทางปัญญาเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ในวัยเด็กตอนต้น ผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะด้านสังคม อารมณ์ และร่างกายเพื่อช่วยส่งเสริม EF ให้ดีขึ้น เช่นการเล่นดนตรี เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของ EF เพราะต้องอาศัยทักษะต่างๆ เช่น การมีสมาธิอย่างต่อเนื่อง ความยืดหยุ่นทางปัญญา การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน (task switching)
        มีผลงานวิจัยใหม่ ๆ
EF หรือ Executive Functions จะประกอบด้วย ทักษะ 9 ด้าน คือ 

กลุ่มทักษะพื้นฐาน
    1. Working memory = ความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
    2. Inhibitory Control = ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรองควบคุมแรงอยาก หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด
    3. Shiftingหรือ Cognitive Flexibility = ความสามารถในการยืดหยุ่น พลิกแพลง ปรับตัว เป็นจุดตั้งต้นของการคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์

กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
    4. Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
    5. Emotional Control = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดง่าย จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
    6. Self-Monitoring = คือ การประเมินตนเองรวมถึงสะท้อนผลการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมาย ให้เป็นขั้นตอน รวมถึงรู้ตัวว่า กำลังทำอะไร  ได้ผลอย่างไร 


กลุ่มทักษะปฏิบัติ
    7. Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
    8. Planning and Organizing = การวางแผนและดำเนินการตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย เห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ จนถึงการดำเนินการ และประเมินผล
    9. Goal- Directed Persistence = ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมายมุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคและล้มแล้วลุกได้ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่นไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

       
ผลการสร้างสรรค์ในชั้นเรียน










ประเมินตัวเอง :ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเข้าเรียนตรงเวลาและทำกิจกรรมทันเวลากำหนด
ประเมินเพื่อน :มีส้วนร่วมในการเรียนที่ดีไม่คุยกัน

ประเมินอาจารย์ :อธิบายบรรยายได้อย่างลึกซึ่งพร้อมนำกิจกรรมมาให้ทำทุกคลาส







บันทึกครั้งที่ 5

วันจันทร์ ที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2563
( 12.30 - 15.30 )


🔺อาจารย์มอบหมายงานโดยให้นักศึกษาจับกลุ่ม และค้นหากิจกรรม สร้างสรรค์ คณิตศาสตร์ 1 กิจกรรม พร้อมเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สามารถใช้กับเด็กได้


โดยการทำสื่อ จะเลือกใช้วัสดุเหลือใช้ รีไซเคิล และไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก

ประเมินตัวเอง :มีการค้นหาสื่อที่หลากหลลายพร้อมมีคำถามแและคอยปรับแก้เสมอ

ประเมินเพื่อน :มีความตั้งใจหากิจกรรมและเสนอความคิดสร้างสรรค์กิจกรรมของแต่ละกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ : มีคำแนะนำที่ละเอียดคอยช่วยเหลือปรึกษาในเรื่องกิจกรรมสร้างสรรค์







บันทึกครั้งที่ 4

วันจันทร์ ที่ 10 เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2563
( 12.30 - 15.30 )




งดคลาส 
เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยของวันมาฆบูชา



บันทึกครั้งที่ 3

วันจันทร์ ที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2563
( 12.30 - 15.30 )
🔺อาจารย์มอบหมายงานโยให้เชือกนักศึึกษาคนละ 1 เส้น โดย โยนแล้วเชือกหล่นลงมาเป็นรูปแบบใด ให้นักศึกษา เลียนแบบเชือกนั้น
🔺อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม โดยนำเชือกที่มีขนาดแตกต่างกันของแต่ละคน มาประกอบต่อติดกันเป็น เรือ 1 ลำ
🔺อาจารย์มอบหมายงานโดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม แบะนำเชือกนั้นมาประกอบปะติดกันเป็นรูปเรือโดยี่เพื่อนๆต้องเข้าไปนั่งและให้นำหนังสือพิมที่ได้รับจากอาจารย์ มาตกแต่งแม่ย่านางประจำเรือของตน




ได้รับบทเป็นแม่ย่านางประจำเรือ 

โดยนำเสนอเรือตัวเองพร้อมพายเรือเป็นจังหวะให้พร้อมเพียงกัน













ประเมินตัวเอง :เข้าเรียนตรงเวลา มีการทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนในห้อง
ประเมินอาจารย์ : การสอนที่ไม่น่าเบื่อกิจกรรมน่าสนใจดึงดูดให้อยากทำต่อไปเรื่อยๆ












บันทึกครั้งที่  13 วันศุกร์ ที่ 24   เดือนเมษายน พ . ศ . 2563 ( 12.30 - 15.30 ) คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย ...